คุณแม่บ้าน พ่อบ้านคงพอจะทราบว่า ของใช้บางอย่างเมื่อเสีย หรือชำรุด หรือใช้งานเสร็จเรียบร้อย จากของมีประโยชน์มันกลายเป็นสิ่งอันตรายไปในทันที เช่นหลอดไฟฟ้า ถ่านไฟฉาย น้ำยาทำความสะอาด ยาฆ่าแมลง ฯลฯ
เห็นว่าเรื่องใกล้ตัวแบบนี้เราไม่ควรมองข้าม เพราะหากกำจัดไม่ถูกวิธี หรือเก็บซ่อนไว้มันอาจเป็นอันตรายกับคนในครอบครัว จึงรวบรวมวิธีจัดการกับของอันตราย ของเสียในบ้านเหล่านี้ เพื่อความปลอดภัยของสมาชิกทุกคน
ของอันตรายที่ว่านั้นมีอะไรบ้าง
น้ำยาขัดห้องน้ำและสุขภัณฑ์ เป็นสารกัดกร่อนและเป็นสารพิษ ถ้าจะทำความสะอาดห้องน้ำให้ใช้นํ้าสบู่หรือน้ำส้มสายชูผสมน้ำราดแล้วขัดด้วยแปรงอีกที
นํ้ายาขัดกระจก เป็นสารกัดกร่อนและสารพิษ ให้ใช้นํ้าผสมนํ้าส้มสายชู แล้วใช้กระดาษหนังสือพิมพ์เช็ด ขัดถู หรือใช้ผ้าเนื้ออ่อนเช็ดถูก็ได้
ยาฆ่าแมงสาบและยาฆ่ามด สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสารพิษ หากดูแลบ้านให้สะอาด ไม่มีกลิ่น หรือเศษอาหารเลอะเทอะ ก็จะลดมดและแมลงสาบลงได้
นํ้ายาขัดเครื่องเงินหรือเครื่องทองแดง ล้วนเป็นสารพิษ ให้ใช้โซดาไฟผสมกับเกลือในน้ำอุ่น แล้วนำเครื่องเงินหรือเครื่องทองแดงเหล่านั้นไปแช่ ก่อนจะขัดให้ขึ้นเงา สำหรับการทำความสะอาดเครื่องทองแดง ให้ใช้น้ำส้มสายชูผสมเกลือแล้วหยดลงบนเครื่องทองแดง ก่อนจะขัดถู ทำความสะอาด
ยาขัดรองเท้า เป็นสารไวไฟและเป็นสารพิษด้วย มีผู้แนะนำให้ใช้วาสลีนขัดถูแทนยาขัดรองเท้าก็จะทำให้รองเท้าเงางามได้เช่นกัน
แบตเตอรี่ เนื่องจากแบตเตอร์รี่ทำจากสารสังกะสีและคาร์บอนหรือโลหะอื่นและที่อันตรายมาก ดังนั้นตอนเก็บควรระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงให้อยู่ไกลไฟ รวมถึงควรเลือกใช้แบตเตอรี่ที่ชาร์จไฟได้อีก หรือหากมีพลังงานไฟฟ้าหรือพลังงานแสงอาทิตย์ทดแทนก็ยิ่งดี
ถ่านไฟฉายเก่า และหลอดไฟฟลูออเรสเซนส์ เป็นของใช้ที่มีส่วนประกอบของสารโลหะหนักทั้ง ตะกั่ว ปรอท ที่ถูกบรรจุอยู่ภายใน พร้อมที่จะกระจายเป็นมลพิษออกสู่ดิน น้ำ อากาศ ซึ่งผู้ที่อยู่ใกล้เคียงกับแหล่งทิ้งขยะเหล่านี้ย่อมเสี่ยงที่จะได้รับสารพิษอันตราย รวมทั้งคนเก็บขยะด้วย
1.ลดปริมาณการใช้สิ่งของอันตรายเหล่านั้นในบ้าน เพื่อจะได้มีของเสียที่ต้องรวบรวมไปกำจัดในปริมาณที่น้อยลง
2.แยกของเสีย หรือของอันตรายเหล่านั้นออกจากขยะทั่วไป ถ้าของเสียเหล่านั้นเป็นของเหลวไม่ควรเทรวมกัน เพราะมันอาจทำปฏิกิริยาต่อกันได้
3.เก็บของเหล่านั้นให้พ้นมือเด็ก และสัตว์เลี้ยง เช่นยาที่หมดอายุ ยาฆ่าแมลง
4.เมื่อแยกของเสียอันตรายออกมาจากขยะทั่วไปแล้ว ควรรวบรวมไว้ในถุงพลาสติก มัดให้แน่นหนาแล้วนำไปทิ้งในถังขยะที่เป็นถังเฉพาะขยะมีพิษ ซึ่งขยะเหล่านี้จะถูกนำไปรวบรวมและกำจัดทิ้งที่ศูนย์กำจัดขยะของเสีย
5.สำหรับวิธีทิ้งถ่านไฟฉายใช้แล้วอย่างถูกวิธีคือ เก็บรวมรวมถ่านเก่านใส่ไว้ในถุงดำ แล้วติดป้ายว่า "ขยะพิษ (ถ่านไฟฉายใช้แล้ว" เพื่อแจ้งให้คนเก็บขยะทราบ หรือหากมีซากถ่านไฟฉายเป็นจำนวนมาก สามารถแจ้งเรียกฝ่ายความสะอาดของเขตที่พักอาศัยไปรับถึงที่ได้ วิธีการเช่นนี้สามารถใช้ได้กับหลอดฟลูออเรสเซนต์ แบตเตอรี่มือถือ กระป๋องสเปรย์ หรือตลับหมึกพิมพ์ด้วยเช่นกัน
6. สำหรับในพื้นที่ใดไม่มีถังขยะสำหรับขยะมีพิษ ให้รวบรวมของเสีย ของอันตรายเหล่านั้นในถุงพลาสติกเช่นเดิม แล้วเขียนหน้าถุงว่าขยะอันตราย เจ้าหน้าที่จะได้นำไปกำจัดได้ถูกวิธี เพราะหากนำไปรวมกับขยะทั่วไป อาจทำให้สารพิษออกมาปนเปื้อนกับดินได้ และส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม
ข้อมูลจากกรมอนามัย
Cr.sanook
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น