วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2562

วิธีล้างหม้อหุงข้าวให้สะอาดวิ้ง ไม่เหลือคราบไหม้ติดเกรอะกรังก้นหม้อ

 เราควรทำความสะอาดหม้อหุงข้าวอย่างไรดี มาดูวิธีล้างหม้อหุงข้าวที่ถูกต้อง ทั้งหม้อใน ฝา และภายนอกหม้อหุงข้าว เพื่อเป็นการช่วยถนอมหม้อหุงข้าวของเรากันค่ะ

         เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่ผู้คนนิยมบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก ดังนั้นแทบทุกบ้านจึงต้องมีหม้อหุงข้าวเป็นเครื่องใช้ติดครัวกันทั้งสิ้น  ทว่าบางคนกลับไม่รู้ถึงวิธีการทำความสะอาดหม้อหุงข้าวที่ถูกต้อง จึงทำให้หม้อหุงข้าวนั้นเสียไว รับสร้างบ้าน หรือไม่ก็เกิดรอยขีดข่วน มีราขึ้น หรือมีคราบไหม้ติดก้นหม้อได้ ฉะนั้นทางที่ดีเรามาเช็กวิธีการล้างหม้อหุงข้าวที่ถูกต้อง พร้อมรู้ถึงคำแนะนำในการล้างหม้อหุงข้าวเบื้องต้นกันดีกว่าค่ะ

ก่อนทำความสะอาดหม้อหุงข้าว

          ก่อนจะล้างหรือทำความสะอาดหม้อหุงข้าวทุกครั้ง อย่าลืมถอดปลั๊กหม้อหุงข้าวออกก่อนเด็ดขาด ไม่ใช่นั้นอาจเกิดอันตรายร้ายแรงได้ เมื่อถอดเสร็จแล้วก็รอให้หม้อเย็น ซึ่งหม้อแต่ละยี่ห้อก็จะมีระยะเวลาที่แตกต่างกันไป แต่ส่วนมากจะอยู่ที่ประมาณครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง จากนั้นให้นำผ้าเปียกมาเช็ดคราบข้าวแข็ง ๆ ที่ติดอยู่บริเวณก้นหม้อออก โดยถ้าหากข้าวที่ติดอยู่แห้งและแข็งจนเอาออกยากเกินไป สามารถนำไปแช่น้ำแล้วนำช้อนมาขูดออกเบา ๆ ก็ได้  
วิธีการทำความสะอาดหม้อหุงข้าว

          1. ถอดหม้อในและฝาหม้อออกจากหม้อหุงข้าว จากนั้นนำไปแช่ในน้ำอุ่นหรือน้ำที่ผสมน้ำยาล้างจาน  

          2. ระหว่างที่แช่หม้อในและฝา ให้ล้างทัพพีหรืออุปกรณ์เสริมอื่น ๆ ให้สะอาดเรียบร้อย

          3. ดูที่หม้อในว่ายังมีคราบต่าง ๆ ติดอยู่บ้างหรือไม่ หากมีให้นำช้อนมาขูดออกอย่างระมัดระวัง

          4. จากนั้นก็นำฟองน้ำนุ่ม ๆ มาเช็ดทำความสะอาดเหมือนทั่ว ๆ ไปทั้งที่หม้อในและฝา

          5. ล้างหม้อใน ฝา และอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้สะอาดหมดจด

          6. เช็ดชิ้นส่วนที่ล้างให้แห้งด้วยผ้าสะอาด แล้วปล่อยทิ้งไว้

          7. นำผ้าชุบน้ำหมาด ๆ ไปเช็ดบริเวณด้านในหม้อหุงข้าว รวมถึงเช็ดภายนอกให้สะอาดด้วย

          8. น้ำผ้าแห้งไปเช็ดหม้อหุงข้าวอีกทีจนกว่าหม้อหุงข้าวแห้งสนิท เพียงเท่านี้ก็เป็นอันเสร็จ  

การทำความสะอาดหม้อหุงข้าวอย่างล้ำลึก

          นอกจากจะล้างหม้อหุงข้าวทุกครั้งหลังใช้งานแล้ว เราควรนำหม้อหุงข้าวล้างเพื่อทำความสะอาดอย่างล้ำลึกเป็นประจำอย่างน้อยเดือนละครั้งด้วย โดยเฉพาะสำหรับหม้อหุงข้าวที่มีกลิ่นเหม็น ขึ้นรา หรือใช้งานหนัก ๆ ยิ่งควรต้องล้างทำความสะอาดซ้ำบ่อย ๆ ซึ่งจริง ๆ แล้ววิธีการล้างหม้อหุงข้าวที่ล้ำลึกก็ไม่ต่างจากเดิมมาก เพียงแต่คราวนี้เราต้องถอดชิ้นส่วนเล็ก ๆ น้อย ๆ ทุกชิ้นออกมาทำความสะอาดทั้งหมด รวมถึงเช็ดบริเวณด้านนอกและที่เก็บไอน้ำให้สะอาดไร้กลิ่นด้วย โดยถ้าหากหม้อหุงข้าวบ้านใครที่ล้างเท่าไหร่กลิ่นก็ยังเหม็นอยู่ ให้นำชิ้นส่วนต่าง ๆ ไปแช่ไว้ในน้ำที่ผสมน้ำยาจนกว่ากลิ่นจะหายออกหมด จากนั้นจึงล้างให้สะอาด ปล่อยให้แห้ง เช็ดให้แห้งสนิท แล้วค่อยนำไปประกอบรวมกันเหมือนเดิม
วิธีกำจัดคราบไหม้ก้นหม้อ 

          สำหรับรอยไหม้ก้นหม้อที่ล้างออกยาก ควรแช่น้ำทิ้งเอาไว้สักพัก เทเบกกิ้งโซดาลงไปประมาณ 3 ช้อนโต๊ะ หรือใช้น้ำยาล้างจานผสมกับน้ำส้มสายชูแทนก็ได้ จากนั้นนำหม้อไปตั้งไฟอ่อน ๆ จนกระทั่งน้ำเดือด ทิ้งไว้อีก 3 นาที แล้วค่อยนำหม้อมาขัด คราบก็จะหลุดออกมาได้ง่ายดายมากขึ้น  

การกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ออกจากหม้อหุงข้าว

          เราสามารถกำจัดกลิ่นเหม็น ๆ ออกจากหม้อหุงข้าวได้ด้วยการผสมน้ำ 1 ถ้วยตวง เข้ากับน้ำส้มสายชู 1 ถ้วยตวง จากนั้นก็ใส่เปลือกมะนาวหรือส้มลงไป แล้วอุ่นให้ร้อนสักประมาณ 2 นาที จากนั้นก็นำชิ้นส่วนต่าง ๆ ออกไปล้างพร้อมเช็ดให้แห้ง เท่านี้หม้อหุงข้าวของเราก็จะไร้กลิ่นเหม็นกวนใจแล้วค่ะ
คำแนะนำเพิ่มเติมในการทำความสะอาดหม้อหุงข้าว

          1. ควรอ่านคู่มือการใช้งานให้เข้าใจเสมอ เนื่องจากหม้อหุงข้าวหรือข้าวของเครื่องใช้บางชนิดอาจต้องการการดูแลที่พิเศษแตกต่างกัน

          2. ต้องทำความสะอาดหม้อหุงข้าวทุกครั้งหลังใช้งาน เพื่อไม่ให้เกิดคราบสกปรกสะสม

          3. ห้ามใช้ฟองน้ำที่แหลมคมหรือฝอยขัดหม้อในการล้างหม้อหุงข้าว เนื่องจากความคมเหล่านั้นอาจไปข่วนทำให้หม้อหุงข้าวเป็นรอยได้ โดยทางที่ดีให้ใช้ฟองน้ำที่นุ่ม ๆ ในการล้างหม้อหุงข้าวจะดีที่สุด

          4. ต้องล้างหม้อหุงข้าวให้สะอาดหมดจน ไร้สารเคมีจากน้ำยาล้างจานตกค้างจริง ๆ โดยอาจจะใช้ผ้าเปียกในการซับอีกทีหลังจากล้างก็ได้

          5. เช็ดหม้อหุงข้าวให้แห้งสนิททุกครั้งก่อนนำไปใช้ และควรหมั่นทำความสะอาดภายนอกหม้อหุงข้าวให้ดูดีอยู่เสมอ รวมถึงเช็กบริเวณปลั๊กไฟให้แห้งอยู่ตลอดด้วย

          จะเห็นได้ว่าจริง ๆ แล้วการล้างหม้อหุงข้าวที่ถูกต้องนั้นไม่ได้ยุ่งยากหรือลำบากกว่าการล้างจานทั่ว ๆ ไปเลย ฉะนั้นมาทำความสะอาดหม้อหุงข้าวให้ถูกวิธี เพื่อช่วยถนอมและยืดอายุการใช้งานหม้อหุงข้าวของเรากันเถอะค่ะ 

ที่มา:kapook

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น